วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการนำเข้าและส่งออก

ในสถานการณ์การค้าโลกในยุคปัจจุบัน

ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
บรรยากาศการค้ามีแนวโน้มไปสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้น
ภาวะการณ์แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น
ประเทศต่าง ๆ ได้ปรับปรุงรูปแบบทางการค้าและใช้มาตรการกีด
กันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาปกป้องผลประโยชน์ของตน เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด
และการอุดหนุน ปัญหาการค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมากมาย
การพิสูจน์ความรับผิดชอบ หรือการหาข้อยุติข้อพิพาททางการค้า จึง
เป็นสิ่งที่ต้องกระทำ และเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยบ่งชี้ผู้รับผิดชอบ คือ "
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า" (Certificate of Origin) เนื่องจาก
เป็นหนังสือรับรองฯ ที่แสดงว่า สินค้านั้น ๆ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศ ใด นอกจากนี้หนังสือรับรองแหล่งกำเนิด ยังมีประโยชน์
ในการขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร จากประเทศผู้
ให้สิทธิพิเศษรวม ทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดการค้า
และสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาได้อีกทางหนึ่ง
ซึ่งหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) แบ่งออก
เป็น 2 ประเภท คือ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุ
ในหนังสือรับรองฯ ผลิตถูกต้องตามกฏว่าด้วย แหล่งกำเนิดสินค้า
และตามเงื่อนไขภายใต้ระบบสิทธิพิเศษของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ซึ่งจะ
ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ
ได้แก่ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบเอ (Certificate of Origin
Form A) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้
ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เป็นการทั่วไป (Generalized
System of Preferences : GSP) โดยจะได้รับสิทธิยกเว้น
หรือลดหย่อนภาษีขาเข้า สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้
ให้สิทธิพิเศษฯ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น นอรเวย์
สวิตเซอร์แลนด์ บัลแกเรีย โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สาธารณรัฐสโลวัค และสหพันธรัฐรัสเซีย หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบดี (Certificate of Origin
Form D) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้
ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลง ว่าด้วยการ
ใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษ ที่เท่ากัน (Common Effective
Preferential Tariff : CEPT) สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน
(Asean Free Trade Area : AFTA) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ จี.เอส.ที.พี (Certificate of
Origin Form GSTP) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษ
ภาย
ใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา
(Global System of Trade Preferences : GSTP) ได้แก่
แอลจีเรีย อังโกลา อาร์เจนตินา บังกลาเทศ เบนิน โบลิเวีย บราซิล
แคเมอรูน ชิลี โคลัมเบีย คิวบา สาธารณัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เอกวาดอร์ อิยิปต์ กานา กีเนีย กายอานา ไฮติ อินเดีย อินโดนีเซีย
อิหร่าน อิรัก ลิเบีย มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อคโค โมซัมบิค นิการากัว
ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ การ์ตา สาธารณรัฐเกาหลี โรมาเนีย
สิงคโปร์ ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย ประเทศไทย ตรินิแดดและโตเบโก
ตูนิเซีย อุรุกวัย เวเนซูเอล่า เวียดนาม ยูโกสลาเวีย ซาอีร์ และซิมบับเว หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate
in Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก
สำหรับสินค้าหัตถกรรมตามรายการที่กำหนดไว้ในระเบียบการ
ให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ
(Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom
Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหม
และผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือตามระเบียบการ
ให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุ
ในหนังสือรับรองฯ มีแหล่งกำเนิดจากประเทศ ผู้ออกหนังสือรับรองฯ จริง
และใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าตามระเบียบการนำ
เข้าของประเทศปลายทางหรือตามเงื่อนไขของผู้นำเข้าเท่านั้น ไม่สามารถ
ใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ได้แก่
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าทั่วไป (Certificate of Origin : Form C/O ทั่วไป)
          สหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะกำหนดให้สินค้าอุตสาหกรรมที่นำ
เข้าต้องติดป้าย "made in" โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้า
เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า และเซรามิค เนื่อง
จากปัจจุบันสหภาพยุโรปไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้ระบุแหล่งกำเนิดสินค้า
(origin marking) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ยิ่งกว่า นั้นประเทศสมาชิกบางประเทศได้มีการบังคับใช้มาตรการการดังกล่าว แต่
ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
และอาจมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน
ด้วยหากมีการปลอมแปลงแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศที่สาม
ทั้งนี้สหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการจัดทำกฎระเบียบ โดย
จะมีการกำหนดคำนิยามของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งคาดว่า จะอ้างอิงจากกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้อยู่ภาย
ใต้ระบบสิทธิพิเศษของสหภาพยุโรป นอกจากนี้
ต้องมีการจัดทำข้อกำหนดในการอ้างสิทธิแหล่งกำเนิดสินค้าที่นำเข้า
จากประเทศที่สาม รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบ การควบคุม
และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ป้ายระบุแหล่งกำเนิดสินค้า
ด้วย ทั้งนี้ข้อความที่ใช้คาดว่าจะใช้คำ "made in" หรือภาษาทางการของประเทศสมาชิกที่ผู้บริโภคจะเข้าใจได้ง่าย
          ขณะนี้ยังไม่มีข้อบังคับในการบ่งชี้ถึงประเทศที่ผลิตสินค้า
ในฉลาก ตัวอย่างเช่น "Made in Thailand" แต่อย่างไรก็ดี
ในบางประเทศเริ่มมีความสนใจในเรื่องกฎของแหล่งกำเนิดสินค้า
หรือหากสินค้าไม่ได้ผลิตในสหภาพยุโรปจะต้องมีฉลากระบุ "import"
บ่งชี้ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น: